วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ละครไทยกับซีรีย์เกาหลี

ละครไทย 1.ความหมายของละคร ( DRAMA ) นักปราชญ์ นักการศึกษา และท่านผู้รู้ได้ให้นิยามความหมายของละครแตกต่างกันออกไปดังนี้ ละคร หมายถึง การแสดงที่ดำเนินเป็นเรื่องราว ละคร หมายถึง การแสดงที่ผูกเป็นเรื่อง มีเนื้อความเหตุการณ์เกี่ยวข้องเป็นตอน ๆ ตามลำดับ ละคร หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เกิดจากการนำภาพประสบการณ์ และจินตนาการของมนุษย์ มาผูกเป็นเรื่องราวแล้วนำเสนอแก่ผู้ชม โดยมีผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมาย ละคร หมายถึง มหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องราวต่าง ๆ มุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเร้าความรู้สึกของผู้ดู ขณะเดียวกันผู้ดูก็จะได้แนวความคิด คติธรรมและปรัชญาจากการละครนั้น ละคร หมายถึง วรรณกรรมรูปหนึ่งเพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ของมนุษย์ โดยสร้างตัวละคร สร้างสถานการณ์ขึ้น เพื่อให้ตัวละครแสดงอารมณ์ออกมาตามสถานการณ์ ก่อให้เกิดเหตุการณ์สอดคล้องสืบเนื่องเป็นเรื่องใหญ่ หากเรื่องเล็ก ๆ ที่ตัดออกเป็นตอน ๆ นั้นต่อเนื่องกันได้โดยสนิท เป็นที่พอใจคนดู ก็นับว่าละครเรื่องนั้นเป็นละครที่ดี สรุปละคร หมายถึง การแสดงที่ดำเนินเป็นเรื่องราว เกิดจากการนำภาพประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่องราว โดยมีผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเร้าความรู้สึกของผู้ดู และให้แนวคิด คติธรรมและปรัชญาแก่ผู้ดู 1.2 ประเภทของละคร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1) ละครแนวเหมือนจริง (Representational Drama) คือละครที่ให้ภาพชีวิตความเป็นจริง สะท้อนชีวิตในสังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนออกมาเป็นเรื่องราว ดังคำกล่าวที่ว่า “ ละครคือชีวิต ” 2) ละครแนวไม่เหมือนจริง (Presentational Drama) คือละครที่ให้ภาพของการแสดงหลุดออกไปจากชีวิตประจำวัน โดยยึดคนดูเป็นเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้คนดูเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ตื่นเต้น และผู้ดูจะเกิดความรู้สึกว่าสิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ชีวิตจริง เช่น การแสดงโขน ละครรำ ซึ่งฉากและเครื่องแต่งกายจะหรูหราเกินจริง แต่ก็สวยงามประณีตวิจิตรบรรจง มีเสน่ห์ประทับใจคนดู 1.3 องค์ประกอบของละคร ที่สำคัญมี 4 ประการ คือ 1) ต้องมีเรื่อง (Story) ผู้ชมการแสดงจะรู้เรื่องได้โดยวิธีการฟังบทเจรจาของตัวละคร ละครจะมีคุณค่าหรือไม่อยู่ที่ผู้ประพันธ์บทจะต้องมีความสามารถในเชิงกวีโวหาร แสดงออกซึ่งลักษณะนิสัยของตัวละครในวรรณคดีเรื่องนั้น ๆ 2) ต้องมีเนื้อหาสรุป (Subject) หรือ แนวคิด (Theme) เช่น ต้องการให้เกิดความ รักชาติ ความเสียสละ ความสามัคคี ก่อให้เกิดสติปัญญา สอนคติธรรม ความกตัญญูกตเวที 3) นิสัยตัวละคร (Characterization) บุคลิกลักษณะ กิริยาท่าทาง ต้องตรงกับนิสัย ตัวละครในเรื่อง 4) บรรยากาศ (Atmostphere) หมายถึง การสร้างบรรยากาศรอบ ๆ ที่เกี่ยวกับตัวละคร จะต้องกลมกลืนกับการแสดงของตัวละคร เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกคล้อยตามไปกับเรื่องได้ เช่น บรรยากาศสดชื่น รื่นเริง แจ่มใส โศกเศร้า ดุเดือด ตื่นเต้น หวาดเสียว น่ากลัว วังเวง 2.1 ประวัติความเป็นมาของละครไทย ละครไทยมีประวัติความเป็นมาแต่ละสมัย ดังนี้ 1) สมัยน่านเจ้า ในสมัยนี้พบว่ามีนิยายเรื่องหนึ่งคือ “ มโนห์รา ” ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ในอาณาจักรน่านเจ้าเดิมนั่นเอง 2) สมัยสุโขทัย เป็นสมัยที่ริเริ่มมีความสัมพันธ์กับชาติที่นิยมอารยธรรมของอินเดีย เช่น พม่า มอญ ขอม และละว้า ไทยได้รู้จักเลือกเฟ้นศิลปวัฒนธรรมที่ดีของชาติที่สมาคมด้วย ไทยได้รับ วัฒนธรรมด้านการละครของอินเดียเข้ามาพัฒนาและกำหนดแบบแผนศิลปะการแสดงเป็นของไทย เรียกการแสดงนี้ว่า “ โขน ละคร ฟ้อนรำ ” 3) สมัยอยุธยา การละครของไทยมีแบบแผนมากขึ้น มีการแสดงที่เกิดขึ้นในสมัยนี้ หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน และโขน 4) สมัยธนบุรี เป็นช่วงหลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงส่งเสริมฟื้นฟูการละครขึ้นใหม่ รวบรวมศิลปินตลอดจนบทละครเก่า ๆ ที่กระจัดกระจายไปเข้ามาอยู่รวมกัน และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน คือ หนุมานเกี้ยวนางวานริน ท้าวมาลีวราชว่าความ ทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด ( เผารูปเทวดา ) พระลักษณ์ถูกหอกกบิลพัท และปล่อยม้าอุปการ ในสมัยนี้มี คณะละครหลวงและเอกชนเกิดขึ้นหลายโรง 5) สมัยรัตนโกสินทร์ การละครไทยได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์ตามลำดับดังนี้ สมัยรัชกาลที่ 1 มีการรวบรวมตำราฟ้อนรำไว้เป็นหลักฐานสำคัญ มีบทละครที่ปรากฏตามหลักฐาน 4 เรื่อง คือ อุณรุท รามเกียรติ์ ดาหลัง และอิเหนา สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นสมัยที่วรรณคดีรุ่งเรืองมากที่สุด เป็นยุคทองแห่งศิลปะการละคร มีนักปราชญ์ราชกวี 3 ท่าน คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กรมหลวงพิทักษ์มนตรี และสุนทรภู่ มีบทละครในและละครนอกเกิดขึ้นหลายเรื่อง คือ บทละครใน เรื่อง อิเหนาและรามเกียรติ์ บทละครนอก เรื่อง ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง และมณีพิชัย สมัยรัชกาลที่ 3 ทรงให้ยกเลิกละครหลวง ทำให้เกิดละครของเจ้านายและขุนนางหลายคณะ หลายโรง มีบทละครเกิดขึ้นมากมาย สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงฟื้นฟูละครหลวงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง สมัยรัชกาลที่ 5 การละครเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการละครตะวันตกได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดละครประเภทต่าง ๆ เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้อง ละครพูด และ ลิเก สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นสมัยที่การละครได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด นับได้ว่าเป็นยุคทองแห่งศิลปะการแสดงละครยุคที่ 2 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น และทรง พระราชนิพนธ์บท โขน ละคร ฟ้อนรำ ไว้เป็นจำนวนมาก สมัยรัชกาลที่ 7 มีละครแนวใหม่เกิดขึ้นคือละครเพลงหรือเป็นที่รู้จักกันว่า ละครจันทโรภาส ตลอดทั้งมีละครหลวงวิจิตรวาทการเกิดขึ้น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 การแสดง ละครได้แสดงกันอย่างแพร่หลาย เพราะเหตุว่าภาพยนตร์ฉายไม่ได้ ละครอาชีพจึงเกิดขึ้นมากมายเรียกว่า “ ละครย่อย ” ส่วนใหญ่จะแสดงประเภทตลก ๆ พอหลังสงครามละครย่อยก็หายไป ต่อมาก็มีละครแบบใหม่เกิดขึ้นอีก คือ ละครวิทยุ ละครเวที และละครโทรทัศน์ ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน 2.2 ประวัติความเป็นมาของละครสากล ต้นกำเนิดของละครสากลทั้งตะวันตกและตะวันออกเกิดขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกันประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล โดยอียิปต์เป็นชาติแรกที่มีการแสดงที่ เก่าแก่ที่สุดในโลก อียิปต์เป็นต้นกำเนิดของศิลปะหลายแขนง มีศิลาจารึกมากกว่า 4,000 ปี 1) สมัยอียิปต์ ก่อน คศ . 4 , 000 – 3 , 000 ปี จากศิลาจารึก ภาพเขียน และภาพจารึกในหลุมฝังศพของกษัตริย์อียิปต์โบราณในพีระมิดจะพบหลักฐานการแสดงละครสมัยแรกเป็นการแสดงกลางแจ้ง เพื่อประกอบพิธีบูชาเทพเจ้าโอซิริส (Osiris) โดยมีกษัตริย์อีเธอร์โนเฟรด (Ithernofret) ทรงแสดงเป็นตัวนำเอง มีขบวนเรือ จัดแสดงฉากรบที่เห็นจริงเห็นจังกลางแจ้งติดต่อกัน 3 วัน 2) สมัยกรีก – โรมัน ก่อน คศ . 535 – 200 ปี จุดเริ่มต้นการละครของกรีกเหมือนกับอียิปต์ คือเริ่มด้วยการขับร้องและเต้นรำ เพื่อบูชาเทพเจ้า ไดโอนิซัส (Dionysus) อันเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นและความอุดมสมบูรณ์ (God of Vine & Fertility) จะทำกลางแจ้ง สร้างแท่นบูชาที่เชิงเขา ประชาชนจะมาร้องเพลงและเต้นไปรอบ ๆ แท่นบูชานี้ และมีการฆ่าแพะบวงสรวงด้วย ต่อมาการเต้นและการร้องเพลงสดุดีเทพเจ้านี้ได้กลายเป็นละคร โดยละครกรีกรุ่นแรกจะเป็นแบบโศกนาฏกรรม (Tragedy) เมื่อผู้ชมเริ่มเบื่อหน่ายจึงเกิดการแสดงละครแบบสุขนาฏกรรม (Comedy) ครั้นกรีกเสื่อมอำนาจพวกโรมันก็นำการแสดงของกรีกมาปรับปรุง เพิ่มฉากหวาดเสียว มีฉากรบ ฆ่าสัตว์ และการต่อสู้ 3) สมัยยุโรปสมัยกลาง คศ . 506 – 1500 ปี เอาแบบอย่างมาจากกรีก แต่นิยมเต้นรำทำท่า ทำให้เกิดความนิยมละครใบ้ หรือ แพนโทไมม์ ( Pantomime ) ไม่มีเสียงร้อง มีแต่ท่าทาง ละครในสมัยกลางเกิดจากวัดและโบสถ์ แสดงในวันอีสเตอร์และวันคริสต์มาส พระได้ใช้การแสดงละครประกอบในการสอนศาสนา 4) สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา หรือ สมัยเรอเนซองส์ คศ . 1500 – 1700 ปี ละครยุดนี้ไม่เกี่ยวกับศาสนา แสดงเหตุการณ์ที่ร้าย ๆ น่ากลัว มีทั้งเรื่องโศกเศร้าและสมหวังอยู่ในเรื่องเดียวกัน 5) สมัยโรแมนติก คศ . 1700 – 1850 ปี เป็นละครที่เกี่ยวกับเลือดเนื้อ มีเรื่องเกี่ยวกับผี ปีศาจ 6) สมัยสัจจนิยม คศ . 1900 – 1950 ปี เริ่มเป็นละครสมจริงสมจัง เนื้อเรื่องสะท้อนความเป็นจริง 7) สมัยปัจจุบัน คศ . 1950 ปี ละครสมัยนี้เจริญขึ้นทุกด้าน มีการเอาศิลปะต่าง ๆ เข้ามาผสม เช่น ศิลปะการแต่งกาย การวาดภาพ การใช้แสง สี เสียง หรือแม้แต่การนำเอาเครื่องอีเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในการแสดง นอกจากนี้ยังมีการนำเอา ระบำพื้นเมือง ( Folk Dance ) และ ระบำสมัยใหม่ ( Modern Dance ) เข้ามาประกอบในละคร เพื่อให้สมจริงสมจังยิ่งขึ้น 3.1 รูปแบบของละครไทย ละครไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1) ละครรำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 ละครรำแบบดั้งเดิม ( ละครรำโบราณ ) ได้แก่ ละครโนห์รา - ชาตรี ละครนอก และละครใน 1.2 ละครรำที่ปรับปรุงขึ้น ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง และละครเสภา • ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ( ไม่ใช่ละครรำ ) ได้แก่ ละครร้อง ละครสังคีต และละครพูด 1) ละครรำ เป็นละครประเภทที่ใช้ศิลปะการร่ายรำดำเนินเรื่อง มีการขับร้องและเจรจา เป็นกลอนบทละคร ละครรำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 ละครรำแบบดั้งเดิม ( ละครรำโบราณ ) ได้แก่ ละครโนห์รา - ชาตรี ถือว่าเป็นต้นแบบของละครรำ นิยมใช้ ผู้ชายแสดง มีตัวละคอน 3 ตัว คือ ตัวพระ ตัวนาง และเบ็ดเตล็ด ( เป็นตลก , ฤษี ฯลฯ ) เรื่องที่เล่นคือ “ มโนห์รา ” ตอน จับนางมโนห์รามาถวายพระสุธน การแสดงเริ่มด้วยการบูชาครูเบิกโรง ผู้แสดงออกมารำซัดไหว้ครู โดยร้องเอง รำเอง ตัวตลกที่นั่งอยู่เป็นลูกคู่เมื่อร้องจบจะมีบทเจรจาต่อ ละครนอก ดัดแปลงมาจากละครโนห์รา - ชาตรี เป็นละครที่เกิดขึ้นนอกพระราชฐาน เป็นละครที่คนธรรมดาสามัญนิยมเล่นกัน ผู้แสดงเป็นชายล้วน ไม่มีฉากประกอบ นิยมเล่นกันตามชนบทท่ารำและเครื่องแต่งกายไม่ค่อยพิถีพิถัน เรื่องที่ใช้แสดงละครนอกเป็นเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ เช่น สังข์ทอง มณีพิชัย ไกรทอง สังข์ศิลป์ชัย โม่งป่า พิกุลทอง การะเกด เงาะป่า ฯลฯ การแสดงดำเนินเรื่องรวดเร็ว โลดโผน ในบางครั้งจะพูดหยาบโลน มุ่งแสดงตลก ใช้ภาษาตลาด และไม่คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ละครใน เป็นละครที่พระมหากษัตริย์ทรงดัดแปลงมาจากละครนอก ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน และแสดงในพระราชฐานเท่านั้น การแสดงละครในมีความประณีตวิจิตรงดงาม ท่ารำต้องพิถีพิถันให้มีความอ่อนช้อย เครื่องแต่งกายสวยงาม บทกลอนไหเราะ สำนวนสละสลวยเหมาะสมกับท่ารำ เพลงที่ใช้ขับร้องและบรรเลงต้องไพเราะ ช้า ไม่ลุกลน เรื่องที่ใช้แสดงมี 3 เรื่อง คือ อิเหนา รามเกียรติ์ และอุณรุท 1.2 ละครรำที่ปรับปรุงขึ้น ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นำแบบอย่างมาจากละครโอเปร่า (Opera) ของยุโรป ลักษณะการแสดงละครดึกดำบรรพ์ คือ ผู้แสดงร้องและรำเอง ไม่มีการบรรยายเนื้อร้อง ผู้ชมต้องติดตามฟังจากการร้องและบทเจรจาของผู้แสดง ละครพันทาง เกิดหลังละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครรำแบบละครนอกผสมละครในมีศิลปะของชาติต่าง ๆ เข้ามาปะปนตามท้องเรื่อง ทั้งศิลปะการร้อง การรำ และการแต่งกาย ผสมกับศิลปะไทย โดยยึดท่ารำไทยเป็นหลัก นิยมแสดงเรื่อง ราชาธิราช พระลอ สามก๊ก พญาน้อย ฯลฯ ละครเสภา เป็นละครที่ดำเนินเรื่องด้วยการรำประกอบบทร้องและบทขับเสภา มีเครื่องประกอบจังหวะพิเศษคือ “ กรับเสภา ” เรื่องที่นิยมแสดงคือ ขุนช้าง - ขุนแผน ไกรทอง 2) ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ( ไม่ใช่ละครรำ ) ได้แก่ 2.1 ละครร้อง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง ไม่มีท่ารำ ผู้แสดงจะต้องร้องเอง เรื่องที่นิยมแสดงคือ ตุ๊กตายอดรัก สาวเครือฟ้า ขวดแก้วเจียระไน 2.2 ละครสังคีต คล้ายละครร้อง ต่างกันที่ละครสังคีตถือบทร้องและบทเจรจาเป็นสำคัญ เท่ากัน จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้ 2.3 ละครพูด ดำเนินเรื่องด้วยการพูด ไม่มีการร้อง ผู้แสดงพูดเอง เป็นต้นแบบของละครวิทยุ ละครเวที และละครโทรทัศน์ในปัจจุบัน ประเภทของละครไทย 3.1 รู้และเข้าใจหลักการแสดงละครตามจินตนาการเพื่อสื่อเรื่องราวเกี่ยวกับความคิด 3.2 รู้และเข้าใจหลักการแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบต่างๆ 3.3 เลือกและประยุกต์ใช้องค์ประกอบของนาฏศิลป์รูปแบบง่าย ๆ มาใช้ในการแสดง 3.7 เข้าใจการเชื่อมโยง แนวความคิด หลักการทางนาฎศิลป์และการละคร ประเภทของละครไทย ละครไทยแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้ คือ 1) ละครรำ หมายถึง ละครที่ใช้การร่ายราในการดาเนินเรื่อง ประเภทของละครรา 1.1 ละครชาตรี สันนิฐานว่าเกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่องที่นิยมแสดง คือ มโนราห์ พระรถ เสน แก้วหน้าม้า ลักษณวงศ์ ไชยเชษ์ ตอนขับสุวิชชา สังข์ทอง ตอนเสี่ยงพวงมาลัย ไกรทอง ตอนวิมาลาขึ้นเมืองมนุษย์ ฯ 1.2 ละครนอก สันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการจากการละเล่นพื้นเมือง เรื่องที่นิยมแสดง คือ การะเกด คาวี โม่งป่า พิกุลทอง มณีพิชัย และสังข์ทอง เป็นต้น 1.3 ละครใน เกิดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ละครในจะเน้นที่ศิลปะการร่ายราที่สวยงาม เรื่องที่นิยมแสดง คือ อุณรุท อิเหนาและรามเกียรติ์ 1.4 โขน คือการแสดงท่าเต้นเข้ากับจังหวะดนตรี สันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการจาการแสดงชัก นาคดึกดาบรรพ์ การแต่งกายจะแต่งแบบยืนเครื่องเหมือนละครใน ตามลักษณะและประเภทของตัวละคร คือ พระ นาง ยักษ์ ลิง ผู้แสดงสวมหัวโขนโดยแยกเป็น ศีรษะเทพเจ้า พระฤาษี พระพิราพ ศีรษะลิง และศรีษะยักษ์ ไม่ร้องและเจรจาเอง เรื่องที่นิยมใช้ในการแสดงคือ รามเกียรติ์ โขนแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้ 1.4.1โขนกลางแปลง แสดงกลางแจ้ง ใช้วงปี่พาทย์บรรเลง 1.4.2 โขนนั่งราว (โขนโรงนอก ) คือการยกโขนกลางแปลงแสดงบนเวที โดยมีฉากประกอบ และยกพื้นสูง ใช้ปี่พาทย์บรรเลง 2 วง 1.4.3 โขนโรงใน เป็นการแสดงผสมกันระหว่างโขน และละครใน ใช้วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่บรรเลง 1.4.4 โขนหน้าจอ เป็นการแสดงโขนในโรงแสดงหนังใหญ่ โดยใช้วงปี่พาทย์บรรเลง 1.4.5 โขนฉาก เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 ลักษณะเด่น คือ มีฉากประกอบแบ่งเป็นฉากๆ มีบทร้องกระบวนรา ท่าเต้น ใช้งวงปี่พาทย์บรรเลงแบบละครใน 1.5 ละครดึกดาบรรพ์ ผู้แสดงจะร้องและราเอง มีการจัดฉากและเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง เรื่องที่นิยมนามาแสดง คือ สังข์ทอง คาวี รามเกียรติ์ และอุณรุท เป็นต้น 1.6 ละครพันทาง เป็นละครที่ดัดแปลงจาการแสดงละครพงสาวดารของชาติต่างๆ ให้มี ลักษณะสาเนียงภาษาของชาตินั้นๆ แต่ใช้ทานองแบบไทย เช่น เพลงมอญดูดาว จีนเก็บบุปผา เป็นต้น เรื่องที่นิยมนามาแสดง เช่น ราชาธิราช 1.7 ละครเสภา มีกาเนิดจากนิทาน เรื่องที่นิยมใช้ในการแสดงคือ ขุนช้างขุนแผน ใช้กรับเป็น เครื่องประกอบ – จังหวะ ละครเสภาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.7.1 เสภาทรงเครื่อง ใช้ปี่พาทย์บรรเลง สลับการขับเสภา 1.7.2 เสภารา เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 2) ละครร้อง หมายถึง ละครที่ใช้การพูดในการดาเนินเรื่อง โดยได้รับอิทธิพลจากละครตะวันตก ละครร้อง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.1 ละครร้องล้วนๆ มีการเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง ใช้ปี่พาทย์ไม้นวมในการบรรเลง เรื่องที่ นิยมใช้ในการแสดง คือ สาวิตรี ขวดแก้วเจียรนัย ดาเนินเรื่องด้วยการร้องโดยไม่มีคาพูด 1.2 ละครร้องสลับพูด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ละครปรีดาลัย ผู้คิดค้นคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ นิยมแสดงบนเวที มีฉากตามท้องเรื่อง ใช้ท่าราและดนตรีแบบอย่างไทย เรื่องที่นิยมนามาแสดง เช่น สาวเครือฟ้า 3) ละครพูด หมายถึง ละครที่ใช้การพูดในการดาเนินเรื่อง ผู้ใช้กาเนิดละครพูดคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชสมัยที่ 6 ) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 3.1 ละครพูดล้วนๆ เรื่องที่นิยมแสดง คือ โพงพาง (พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ) 1.1 ละครพูดสลับลา มีบทร้องเสริมเป็นบางตอน 1.2 ละครพูดคาฉันท์ ใช้บทร้อยกรองประเภทคาฉันท์ เรื่องที่นามาแสดง เช่น มัทนะพาธา เป็นต้น 4) ละครวิทยุ หมายถึงละครที่มีบทบรรยายแทรกในการดาเนินเรื่อง เพื่อให้ได้อรรถรสมากยิ่งขึ้น ผู้แสดงต้องมีความสามารถพิเศษในการใช้เสียงที่ถ่ายทอด และสื่ออารมณ์ของตัวละครตามบรรยากาศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 5) ละครโทรทัศน์ หมายถึง ละครที่มีความคล้ายกับละครเวที แต่มีความละเอียดมากกว่าในเรื่องของฉาก การแต่งกาย ดนตรีประกอบฉาก และเสียงประกอบอื่นๆ และที่สาคัญ คือ มุมกล้อง ละครโทรทัศน์ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่น ละครร้อง ละครรา และละครสมัยใหม่ เป็นต้น ซีรีย์เกาหลี จากผลการวิจัยเรื่อง ภาพยนตร์ชุดเกาหลี : กรณีศึกษากระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับสื่อภาพยนตร์ซีรี่เกาหลีที่ได้ถูกนำมาเผยแพร่ในสถานีโทรทัศน์ช่องหลักของไทย โดยสอบถามจากผู้ชมในกรุงเทพมหานครจำนวน 384 คน โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 15-27 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท มีอาชีพส่วนใหญ่ในพนักงานเอกชนมีสถานภาพโสด และส่วนใหญ่รับชมภาพยนตร์ชุดจากประเทศเกาหลีที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ตั้งแต่เริ่มต้นจบจบเรื่อง จำนวน 7-9 เรื่อง โดยมีจำนวนการรับชม 1-2 เรื่องต่อสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่มีเกณฑ์การเลือกรับชมภาพยนตร์ชุดจากประเทศเกาหลี คือชื่นชอบในภาพยนตร์ชุดจากประเทศเกาหลีที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ ดูเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาน่าสนใจ มีความชื่นชอบในเนื้อหาของเรื่อง มีจำนวนความถี่สูงสุด รองลงมาคือ ทัศนองค์ประกอบ (ฉาก สถานที่ถ่ายทำ เครื่องแต่งกาย แสง) และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ชื่นชอบประเภทภาพยนตร์รักโรแมนติก ผู้วิจัยได้สำรวจภาพยนตร์ซีรี่เกาหลีที่คนไทยนิยมโดยแบ่งเป็นประเภทของภาพยนตร์ โดยผลการวิจัยได้ออกมาดังนี้ ประเภทภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ที่มีผู้ตอบแบบสอบถามติดตามรับชมมากที่สุดคือ เรื่อง Dae Jang guem (จอมนางแห่งวังหลวง) ประเภทภาพยนตร์รักโรแมนติก ที่มีผู้ตอบแบบสอบถามติดตามรับชมมากที่สุดคือ เรื่อง Coffee prince (รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ) ประเภทภาพยนตร์ชีวิต / Drama มีผู้ตอบแบบสอบถามติดตามรับชมมากที่สุด คือ เรื่อง Autumn in my heart (รักนี้ชั่วนิรันดร์) นอกจากนี้ผู้ชมภาพยนตร์ชุดเกาหลีที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ในประเทศไทย ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ชมภาพยนตร์ชุดเกาหลีที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ในประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานหลักที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยข้ออื่นๆไม่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ชมภาพยนตร์ชุดเกาหลีที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ในประเทศไทย การพล็อตเรื่อง นางเอกต้องปลอมตัวเป็นผู้ชาย ..............................................................................รูปภาพ1........................................................................ เห็นได้จากซีรีย์หลายๆ เรื่องที่เคยโด่งดังมาแล้ว ที่ยังจดจำกันได้ก็เรื่อง Coffee Prince นำแสดงโดย ยุนอึนฮเย (Yoon Eun Hye) ในบทบาทของหญิงสาว ที่ต้องปลอมตัวเป็นผู้ชายเพื่อเข้ามาทำงานในร้าน กาแฟของพระเอกหนุ่ม กงยู (Gong Yoo) ซีรีย์เรื่องนี้สามารถโกยเรตติ้งถล่มทลายและโด่งดังมากใน หลายๆ ประเทศ ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ใช้พล็อตเรื่องแนวนี้ก็มี You’re Beautiful ซึ่งนางเอกของเรื่องต้องปลอมตัวเข้าไปเป็น นักร้องนำของวงชายล้วนแทนพี่ชายฝาแฝดของตัวเอง เรื่องนี้ได้ พัคชินฮเย (Park Shin Hye) มาสวดมาด หนุ่มน้อยหน้าหวานประกบพระเอกน่ารัก จางกึนซอก (Jang Geun Suk) ก็โด่งดังกันไปตามระเบียบอีกเรื่อง ส่วน Sung Kyun Kwan Scandal ก็ให้สาวสวย พัคมินยอง (Park Min Young) มาปลอมตัวเป็นบัณฑิตหนุ่มหน้าใส ที่ลักลอบเข้ามาเรียนใน Sung Kyun วิทยาลัยชายล้วนซึ่งเป็นสถานที่ต้องห้ามสำหรับผู้หญิง จนพบรักกับบัณฑิตหนุ่มสุดหล่อแสนเฟอร์เฟคอย่าง พัคยูชอน (Park Yoo Chun) กุ๊กกิ๊กน่ารักโดนใจแฟนๆ กันไปถ้วน หน้าเช่นกัน และอีกเรื่องที่กำลังมาแรง To The Beautiful You นำแสดงโดยหนุ่มมินโฮ (Min Ho) จากวง SHINee ประกบกับสาวน้อยน่ารักอย่าง ซอลลี่ (Sulli) วง F(X) โดยเรื่องนี้ ซอลลี่ (Sulli) ต้องปลอมตัวเป็นผู้ ชายเพื่อเข้าไปเรียนในโรงเรียนชายล้วน เพราะอยากจะใกล้ชิดกับหนุ่มในฝันอย่าง มินโฮ (Min Ho) เรื่องราว สนุกๆ จึงเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าพล็อตเรื่องแนวนี้มักจะทำให้ซีรีย์สนุก ชวนติดตาม และประสบความสำเร็จอีกหนึ่งพล็อตเรื่องที่กำลังนิยมสร้างเป็นซีรีย์ ตัวอย่างของซีรีย์แนวนี้ก็มี Queen In Hyun’s Man ที่ทำ ให้คู่รักในจอกลายมาเป็นคู่รักนอกจอ โดยเนื้อหาของเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องราวของบัณฑิตหนุ่มในยุคโซซอนรับ บทโดย จีฮยอนวู (Ji Hyun Woo) ผู้คอยสนับสนุนพระมเหสีอินฮยอน รับบทโดย ยูอินนา (Yoo In Na) อยู่ๆ ก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้บัณฑิตหนุ่มคนนี้ได้ข้ามเวลามายังยุคปัจจุบัน ทำให้เขาได้พบกับหญิงสาวที่มีหน้าตา คล้ายกับพระมเหสีอินฮยอน เรื่องราวต่างๆ ก็เกิดขึ้นตามมาจนกลายเป็นความรัก ซีรีย์เรื่องนี้ทำให้ จีฮยอนวู (Ji Hyun Woo) และ ยูอินนา (Yoo In Na) ได้โคจรมาเจอกันและกลายเป็นคู่รักอีกคู่หนึ่งของวงการ ต่อมา เป็น Rooftop Prince ซึ่งได้หนุ่ม พัคยูชอน (Park Yoo Chun) มารับบทรัชทายาทในยุคโซซอน ที่เดินทางข้าม เวลามายังยุคปัจจุบันพร้อมกับองครักษ์ทั้งสามเพื่อตามหาหญิงสาวที่เขารัก รับบทโดย ฮันจีมิน (Han Ji Min) แต่เมื่อข้ามเวลามาแล้ว เขากลับต้องพบกับหญิงสาวอีกคนที่คล้ายคลึงกับหญิงอันเป็นที่รักของเขา เรื่องราว สนุกสนานต่างๆ จึงเกิดขึ้นตามมามากมาย เมื่อองค์ชายยุคโบราณต้องมาเจอกับความทันสมัยในยุคนี้ และเมื่อ พูดถึงละครของ ยูซอน ก็ต้องพูดถึงละครของ แจจุง กันบ้าง เป็นเรื่องราวการข้ามเวลาเช่นกันกับเรื่อTime Slip Dr. Jin เรื่องราวของศัลยแพทย์ประสาทหนุ่มฝีมือเยี่ยม รับบทโดย ซงซึงฮยอน (Song Seung Hyun) ที่ ข้ามเวลาไปยุคโซซอนและรักษาผู้คนในยุคนั้น หมอจินได้รับความช่วยเหลือจากหญิงสาวที่มีหน้าตาคล้ายกับ แฟนสาวในยุคปัจจุบันของเขารับบทโดย พัคมินยอง (Park Min Young) ส่วน แจจุง (Jae Joong) สุดหล่อ ของแฟนๆ รับบท คิมคยองทัก หัวหน้ากองปราบที่มีเรื่องราวเจ็บปวดจากชาติกำเนิดเป็นปมในใจ เรื่องนี้เป็น ไม่ใช่การข้ามเวลาเพื่อเจอรักแท้เท่านั้น แต่ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับการรักษาผู้คนในยุคก่อน ด้วยทักษะของแพทย์ ยุคปัจจุบันที่ต้องอาศัยเครื่องมือที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ทันสมัยเหมือนกับในสมัยนี้ ทำให้น่าติดตาม ได้ความรู้ และความบันเทิงไปด้วยกัน เรื่องราวของคุณหมอหลงยุคยังไม่หมดนะคะ ยังมี Faith อีกเรื่องนึง เป็นเรื่องราว ของศัลยแพทย์สาวรับบาทโดย คิมฮีซอน (Kim Hee Chun) ที่ถูกนักรบหนุ่มรับบาทโดย ลีมินโฮ (Lee Min Ho) ข้ามเวลามายังยุคปัจจุบัน เพื่อลักพาตัวเธอไปช่วยรักษาองค์รัชทายาทแห่งโคกูรยอที่กำลังป่วยหนัก เกิด เป็นเรื่องราวให้ชวนติดตามและคอยลุ้นไปกับพวกเขา แนวแฟนตาซีมีการ สลับร่าง/สิงร่าง/เปลี่ยนร่าง เกิดขึ้น …………………………………………..........................รูปภาพ2................................................................... ซีรีย์ที่มีพล็อตเรื่องแนวนี้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากมาก สามารถทำเรตติ้งได้ถล่มทลาย ได้แก่ เรื่อง Secret Garden ที่ ฮยอนบิน (Hyun Bin) หนุ่มเจ้าของห้างดังที่สุดแสนจะหล่อและรวย ต้องมาสลับร่าง กับหญิงสาวที่เขาตกหลุมรักอย่าง ฮาจีวอน (Ha Ji Won) เรียกได้ว่าซีรีย์เรื่องนี้มีครบรส ทั้งแฟนตาซี สลับร่าง กันไปมาระหว่างพระเอก นางเอก จนเกิดเป็นเรื่องราวสนุกสนานขึ้นมามากมาย แล้วยังมีเรื่องราวความรักแสน โรแมนติก แถมด้วยอารมณ์ดราม่า เพราะความรักของพระเอกนางเอกดันถูกขัดขวาง เพราะฐานะที่แตกต่าง กัน ดูไปก็ลุ้นกันไปหลายยกเลยสำหรับเรื่องนี้ อีกเรื่องที่เรียกเสียงฮาได้เช่นกัน Big เป็นเรื่องราวของหมอหนุ่ม กงยู (Gong Yoo) ที่โดนสิงร่างจนกลายเป็นเด็กมัธยมปลาย และชีวิตของเขาต้องมาพัวพันกับคุณครูสาว รับ บทโดย ลีมินจอง (Lee Min Jong) เรื่องราววุ่นๆ ปนฮาบวกกับรักโรแมนติกของพระเอกนางเอกจึงเกิดขึ้น ส่วน I love Lee Tae Ri ก็เป็นเรื่องราวของนักเรียนมัธยมวัย 14 ที่แอบปลื้มสาวผู้เพียบพร้อมทุกอย่าง รับบท โดย พัคเยจิน (Park Ye Jin) หนุ่มน้อยได้ขอพร แล้วก็ตื่นขึ้นมาเป็นหนุ่มหล่อวัย 25 รับบทโดย คิมคิบอม (Kim Ki Beom) เมื่อทั้งคู่ได้เจอกัน เรื่องราวต่างๆ ก็เกิดขึ้นจนกลายเป็นความรัก และความฮา ให้ได้ติดตามกัน นั่นเอง พล็อตเรื่องมาจากการ์ตูน .......................................................................................รูปภาพ3..................................................................... ส่วนใหญ่ซีรีย์ที่มีพล็อตเรื่องจากการ์ตูนนั้นจะถูกสร้างเป็นซีรีย์จนโด่งดังในไต้หวันและญี่ปุ่นมาแล้ว จึงมี การนำมาสร้างเป็นเวอร์ชั่นเกาหลี ซึ่งก็จะฮอตฮิตทั้งตัวซีรีย์และนักแสดงนำด้วย สามารถขายลิขสิทธิ์ให้กับ ประเทศอื่นๆ ได้อีก การ์ตูนที่ถูกนำมาเป็นพล็อตเรื่องนั้นจะเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ที่สามารถทำยอดขายได้อย่าง ถล่มทลายมาแล้ว เหล่าซีรีย์ที่สร้างมาจากการ์ตูนได้แก่ Boys over flowers พล็อตเรื่องมาจากการ์ตูนเรื่อง Hana Yori Danko ส่วน Playful Kiss พล็อตเรื่องมาจากการ์ตูนเรื่อง Mischievous Kiss เรื่อง To the beautiful You พล็อตเรื่องมาจากการ์ตูนเรื่อง Hana-Kimi เรื่อง City Hunter พล็อตมาจากการ์ตูนญี่ปุ่นชื่อ City Hunter เหมือนกับชื่อซีรีย์ และเรื่อง Time Slip Dr.Jin ก็ถูกสร้างมาจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง Jin องค์ประกอบ 4 ประการของละคร 1. ต้องมีเรื่อง(Story) ผู้ชมการแสดงจะรู้เรื่องได้โดยวิธีฟังบทเจรจาของตัวละคร ละครจะมีคุณค่าได้ก็อยู่ที่ผู้ประพันธ์บทจะต้องมีความสามารถในเชิงกวีโวหารแสดงออกซึ่งลักษณะนิสัยของตัวละครในวรรณคดีเรื่องนั้นๆ 2. ต้องมีเนื้อหาสรุป (Subject) หมายถึงเนื้อหาสรุปเกี่ยวกับความต้องการนั้นๆ เช่นความรักชาติหรือแนวคิด (Theme) ที่ก่อให้เกิดสติปัญญา สอนคติธรรม เช่นธรรมะย่อมชนะอธรรม ทำดีย่อมได้ดี การช่วยเปลื้องทุกข์ ความรักเป็นทุกข์เป็นต้น 3. นิสัยตัวละคร (Characterization) จะต้องตรงกับเนื้อหาสรุปบุคลิกลักษณะ กิริยาท่าทาง ต้องตรงกับนิสัยตัวละครในเรื่อง 4. บรรยากาศ (Atmostphere) หมายถึงการสร้างบรรยากาศรอบๆที่เกี่ยวกับตัวละครจะต้องกลมกลืนกับการแสดงของตัวละครซึ่งบรรยากาศจะช่วยให้ผู้ชมละครมีความรู้สึกคล้อยตามไปกับเรื่องได้เช่นบรรยากาศแจ่มใส เศร้า เป็นต้น การสร้างบรรยากาศให้กับตัวละครเป็นกลวิธีสำคัญอย่างหนึ่งของตัวละคร การสร้างบทละครนั้นเป็นความสามารถที่ต้องอาศัยทักษะและความคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก แต่บุคคลหลายคนก็สามารถจะเขียนบทละครได้ แม้แต่ตัวผู้เรียนเอง หรือศิลปินในท้องถิ่นก็สามารถสร้างบทละครที่มีคุณภาพโดยสะท้อนความคิด ศิลปะ และวิถีชีวิตของท้องถิ่นได้เช่นกัน ละครจึงเป็นกิจกรรมที่ไม่มีกฎเกณฑ์เฉพาะตายตัว อาทิ ดนตรีประกอบการแสดง อาจเป็นดนตรีพื้นบ้านเพียงชิ้นเดียว เช่น ขลุ่ย แคน หรือเพลงที่ผู้เขียนชอบนำมาประกอบการเล่าเรื่องก็ได้ ละครจึงเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ทำงานร่วมกัน สามารถทดลองค้นคว้าหาเรื่องราวที่น่าสนใจมานำเสนอต่อผู้ชมอยู่ใหม่ ๆ ได้เสมอ เทคนิคการเขียนบทละคร ในที่นี้หมายถึง การเขียนบทละครให้มีปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการแสดงได้ ปัจจัยในการเขียนที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. การแบ่งขั้นตอนของโครงเรื่องออกให้ชัดเจนว่า เรื่องดำเนินจากจุดเริ่มต้นแล้วเข้มข้นขึ้น และคลี่คลายไปสู่จุดจบอย่างไร 1.1 การเริ่มเรื่อง เป็นการแนะนำผู้ดูให้เข้าใจความเดิมและตัวละครสำคัญในเรื่อง 1.2 การขยายเรื่อง เป็นการดำเนินเรื่องให้เห็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น แสดงพฤติกรรมของตัวละครต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ 1.3 การพัฒนาเรื่อง เป็นการแสดงความขัดแย้งขอตัวละครในเรื่อง ทำให้การแสดงเกิดความเข้มข้นขึ้น 1.4 เป็นการที่ที่พระเอกตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ล่อแหลม ถึงขั้นต้องมีการตัดสินใจกระทำบางการบางประการให้เด็ดขาดลงไป 1.5 การสรุปเรื่อง หรือการดำเนินเรื่องไปสู่จุดจบบริบูรณ์ 2. การแบ่งเรื่องออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อสถานะการณ์ต่างๆ ในแต่ละตอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยแบ่งได้ 6 ประการคือ 2.1 แสดงความปรารถนาของตัวละคร 2.2 รักษาความต่อเนื่องของเนื้อเรื่องโดยไม่ทำลายวัตถุประสงค์หลักของเรื่อง 2.3 ทำให้การดำเนินเรื่องแต่ละตอนประทับใจ 2.4 สอนเงื่อนงำไว้ในกาละเทศะที่สมควร 2.5 บรรจุปัจจัยที่ทำให้เกิดความประหลาดใจ 2.6 เปิดเผยสิ่งต่างๆที่ควรเปิดเผยในกาละเทศะที่สมควร 3. ลักษณะ คือ กลวิธีในการนำฉันทลักษณ์ต่างๆ มาใช้ในการแสดงออกของสถานะการณ์และความคิดของลักษณะมี 36 วิธี ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าสำนวนที่จะนำมาประพันธ์เป็นบทบรรยายและบทเจรจา ต้องคำนึงถึง 3.1 พื้นเพของตัวละคร 3.2 ความรู้สึกที่ต้องการให้เกิดกับคนดู 3.3 ความแจ่มแจ้งของสาระในเรื่องที่ต้องการถ่ายทอดให้คนดูเข้าใจ 3.4 ความสัมพันธ์กับลักษณะของคนตรีและทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง การเขียนบทละคร อาจเขียนจบฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้ เรียกตอนหนึ่งๆว่าองก์ ก็ได้ ฉาก บอกให้ทราบสถานที่ชัดเจน เช่น ในป่าลึก หาดทราย ในบ้าน หรือในห้อง บอกเวลาในขณะนั้นด้วย ตัวละคร บอกเพศ ชื่อและชื่อสกุล อายุรูปร่างลักษณะ การบรรยายนำเรื่องเพื่อสร้างบรรยากาศ ในกรณีเป็นเรื่องยาวควรมีอย่างยิ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องสั้นอาจไม่จำเป็น บทสนทนา มีความสำคัญมาก เพราะการดำเนินเรื่องอยู่ที่การสนทนาของตัวละครใช้ภาษาพูดให้เหมือนชีวิตจริงๆ ควรเป็นประโยคสั้นๆเข้าใจง่าย อาจแทรกอารมณ์ขันลวไป จะทำให้เรื่องออกรสยิ่งขึ้น ตอนจบ ต้องจบอย่างมีเหตุผล จบอย่างมีความสุข หรือเศร้า หรือจบลงเฉยๆด้วยการทิ้งท้ายคำพูดให้ผู้ชมคิดเอง อาจเป็นถ้อยคำประทับใจเหมือนละลอกคลื่นที่ยังคงพริ้วกระทบฝั่ง หลังจากได้ทิ้งก้อนหินลงไปเมื่อครู่ใหญ่ๆ การขึ้นต้นและการจบเรื่อง เป็นลีลาและศิลปะของผู้เขียนโดยเฉพาะที่จะทำให้ผู้ชมพอใจ แต่เมื่อจบแล้วต้องให้เข้าใจเรื่องโดยตลอด บุคคลที่มีบทบาทสำคัญมีดังนี้ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการแสดงละครที่สำคัญ ประกอบด้วยบุคคลต่างๆ ดังนี้ 1. ผู้อำนวยการแสดง (Producer) คือ ผู้จัดหรือหัวหน้าคณะในการจัดแสดงละครแต่ละครั้ง เป็นผู้กำหนดนโยบาย รูปแบบการแสดง เรื่องที่จะนำมาแสดง จัดสรรหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ดูแลงบประมาณ เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ 2. ผู้กำกับการแสดง (Director) ควบคุมผู้แสดงให้แสดงให้สมบทบาทตามบทที่กำหนดไว้ จัดองค์ประกอบต่าง ๆ ของละครให้มีความสมจริง 3. ผู้กำกับเวที (Stage Manager) เป็นผู้รับผิดชอบต่อจากผู้กำกับการแสดง เฉพาะในเรื่องการแสดงบนเวที มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของเวที เป็นผู้เดียวที่สั่งให้การแสดงเริ่มหรือหยุด ติดต่อสั่งงานเกี่ยวกับไฟแสง เสียงประกอบ ตลอดจนการเปิดปิดฉากละคร 4. ผู้เขียนบท (Play Wright) เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนบทละคร สร้างโครงเรื่อง คำพูดและเหตุการณ์ ผู้เขียนบทละครนับเป็นหัวใจสำคัญของการละคร ละครจะสนุกได้รับผลดีเพียงใด อยู่ที่ผู้เขียนบทละครเป็นสำคัญ ผู้เขียนบทจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เป้าหมายหลักคืออะไร ต้องการสื่ออะไรกับผู้ดู เช่น แนวคิด คติสอนใจ เป็นต้น 5. ผู้จัดการฝ่ายธุรการ (House Manager) เป็นฝ่ายจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับธุรกิจของโรงละคร จัดสถานที่แสดง ดูแลการจำหน่ายบัตรที่นั่ง รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้ดู 6. เจ้าหน้าที่เครื่องแต่งกายและแต่งหน้า (Costume & Make up) ต้องรู้ว่าฉากใด ผู้แสดงมีตัวละครกี่ตัว ใช้ชุดสีอะไรแบบไหน ส่วนเครื่องแต่งหน้าต้องเตรียมให้พร้อม และควรมีความสามารถในการแต่งหน้าตัวละครได้สมจริง เช่น แต่งหน้าในบทของคนชรา คนต่างชาติ คนที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น 7. นักแสดง (Actor) คือ ผู้ที่สวมบทบาทเป็นตัวละคร เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ในบทละครมาสู่ผู้ชม ในบรรดาผู้ร่วมงานทางด้านการจัดแสดงละคร นักแสดงคือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ชมมากที่สุด ผลงานการสร้างสรรค์ของฝ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้เขียนบท ผู้กำกับการแสดง การออกแบบเครื่องแต่งกาย แต่งหน้าจะได้รับการถ่ายทอดมาสู่ผู้ชมโดยตรง โดยผ่านนักแสดง ผู้ที่เป็นนักแสดง พึงคิดไว้เสมอว่า “ละครคือศิลปะที่รวมศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน ความสำเร็จของละครอยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจของผู้ร่วมงานทุกฝ่าย” นักแสดงจึงไม่ควรเย่อหยิ่งหรือคิดว่าตนเป็นคนสำคัญแต่เพียงผู้เดียว และพึงระลึกเสมอว่าตัวละครในบทละครทุกตัวมีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด นับตั้งแต่พระเอก นางเอก ผู้ร้าย ตัวประกอบ หน้าที่ของผู้แสดง เมื่อได้รับบทให้แสดงเป็นตัวอะไรไม่ว่าจะเป็นตัวประกอบ เช่น คนรับใช้ พี่เลี้ยง ทหาร ตำรวจ พยาบาล ประชาชน ก็ควรทุ่มเทฝึกซ้อมให้เต็มความสามารถ เพราะมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างสูงสุดที่มีต่อผู้ชม และเพื่อนร่วมงานทุกฝ่าย เพราะถ้าผู้แสดงไม่ตั้งใจแสดงก็เหมือนเป็นการทำลายผลงานของผู้เขียนบท ผู้กำกับการแสดง ผู้ออกแบบฝ่ายต่าง ๆ ฉะนั้นนักแสดงจะต้องมีจิตสำนึกที่ถูกต้อง มิใช่รักแต่ความดังที่ได้รับเป็นตัวเอก นักแสดงที่ดีต้องอุทิศตนเพื่องาน สามารถแสดงได้ทุกบทบาท มองเห็นคุณค่าของการแสดงว่าเป็นศิลปะ และควรภูมิใจที่ได้รับเลือก ให้เป็นผู้แสดง ไม่ว่าจะเป็นตัวประกอบ ตัวร้าย ก็สามารถให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมได้เช่นกัน โครงสร้างของละครนั้น จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้คือ 1.โครงเรื่อง ( Plot) คือ ใคร ( who ) ทำอะไร ( what ) ที่ไหน (where ) เมื่อไหร่ ( when ) อย่างไร ( how ) 2.ตัวละครและวิธีสร้างตัวละคร ( Character and Characterization ) 3. บทเจรจา ( Dialogue) 4.ฉาก ( Setting ) 5. แนวคิดของเรื่อง ( Theme )แนวคิดของละครนั้นมีหลายแนว เช่น การช่วยเปลื้องทุกข์ การวิงวอน อาชญากรรมที่มีการแก้แค้น การติดตาม การแข็งข้อ หรือกบฏ ปัญหาชีวิต การพาหนีโดยใช้กำลังหรืออุบาย การฆาตกรรม การพลีชีพเพื่อชาติ เพื่ออุดมคติ เพื่อญาติ เพื่อความรัก ความสำนึกผิด การแข่งขันระหว่างฐานะที่สูงและต่ำต้อย ความอิจฉาริษยา หึงหวง ความหลงการสูญเสียความรัก ยศถาบรรดาศักดิ์ ความร่ำรวย คนที่สาบสูญกลับมา 6.การแสดง( Action ) 1. บทละครแนวประวัติศาสตร์ เป็น บทละครที่แสดงเรื่องราวในอดีต เช่น ประวัติบุคคล ประวัติเหตุการณ์ในสมัยต่างๆ 2. บทละครแนวปรัชญาชีวิต เป็นบทละครที่แสดงเรื่องราวในอดีตหรือปัจจุบันที่เน้นความคิดของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง 3. บทละครแนวชี้นำหรือสะท้อนสังคม เป็นบทละครที่แสดงเรื่องราวอันเป็นปัญหาสังคม ซึ่งเป็นผลกระทบรุนแรงต่อบุคคลหรือชุมชน เช่นปัญหาความยากจน โสเภณีเด็ก เป็นต้น บทละครเหล่านี้มักไม่มีคำตอบหรือทางออกที่ชัดเจนให้ตัวละครซึ่งตกอยู่ในปัญหานั้น แต่มักเสนอแนวคิดให้ทุกฝ่ายร่วมกันป้องกัน 4. บทละครแนวจินตนาการ เป็น บทละครที่แสดงจินตนาการอันสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะของมนุษยชาติ ตัวละคร เหตุการณ์ สถานที่ ล้วนเป็นจินตนาการของกวีที่มุ่งแสดงพลังแห่งจินตนาการอันไม่มีขีดจำกัด ในทางวรรณศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และนาฏศิลป์ ตามความแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ความตระการตา เหล่านี้เป็นสิ่งธรรมดาและยอมรับได้ อาทิ เทพนิยาย เรื่องจักรๆวงศ์ๆ เรื่องวิทยาศาสตร์เป็นต้นอย่างไรก็ดีวัตถุประสงค์ของบทละครดังกล่าวนี้มิได้แยกออกจากกันโดยเด็ดขาดเพียงแต่บทละครแต่ละเรื่องเน้นสาระสำคัญต่างแนวกัน การเขียนบทละครมีโครงสร้างอย่างเดียวกับการเขียนเรื่องสั้น คือ มีความสำคัญอันเป็นแกนของเรื่อง มีเค้าโครงเรื่อง มีตัวละคร บทสนทนา และฉาก การเขียนเรื่องสั้นทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินจากการอ่าน แต่งบทละคร เป็นศิลปะที่จะนำไปแสดงเพื่อให้คนได้ชม แล้วเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน -