วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่ 1 บทนำ แนวคิด ที่มา และความสำคัญ ในปัจจุบันนั้นสื่อได้ให้ความสำคัญกับการจัดหาละครและภาพยนตร์คุณภาพ เพื่อนำเสนอต่อสังคมด้วยหวังว่าจะเป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆในทางสร้างสรรค์ และมีเนื้อหาที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากละคร และภาพยนตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน คณะกรรมการนโยบายได้กำหนดวัตถุประสงค์ของละคร และภาพยนตร์ ดังนี้ สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับสุนทรียภาพ ให้กับสังคม , ส่งเสริมเอกลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม,เสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคม,สะท้อนความหลากหลายของสังคม เปิดพื้นที่ให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเฉพาะต่างๆอย่าง เหมาะสม เพื่อการมีส่วนร่วมทั้งในระดับชุมชนและระดับชาติและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชนประชาชนและประชาคมโลก ทีวีไทยเปิดกว้างต่อการสร้างสรรค์ละครคุณภาพทุกรูปแบบเพื่อตอบสนองแนวนโยบายทางด้านเนื้อหาของสถานี ผู้ผลิตที่ทีวีไทยต้องการคือกลุ่มนักสร้างสรรค์ที่มีความสามารถในการเล่าเรื่องราวจากแง่มุมต่างๆ ซึ่งจะสะท้อนภาพสังคม และมีความใฝ่ฝันที่ต้องการจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ถ่ายทอดเรื่องราวที่มีเนื้อหาเข้มข้นและโดดเด่น สามารถสัมผัสถึงการให้ความบันเทิง ยกระดับจิตใจและกระตุ้นผู้ชมในวงกว้าง ทีวีไทยต้องการให้ละครเป็นรายการที่สมาชิกในครอบครัวสามารถรับชมด้วยความเพลิดเพลินร่วมกัน ทีวีไทยจึงได้จัดสรรเวลาให้กับละครในช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากเป็นพิเศษ ผู้ผลิตที่ต้องการเสนอละครให้ทีวีไทยในแต่ละประเภทจึงต้องคำนึงถึงแนวทางดังต่อไปนี้แหล่งที่มาของเรื่องราว นำบทประพันธ์ที่ทรงคุณค่าทั้งในอดีตและปัจจุบันมาดัดแปลงให้สอดคล้องกับยุคสมัย นำเหตุการณ์หรือเรื่องราวจริงของบุคคล สถานที่ ทั้งในอดีตและปัจจุบันมาเป็นโครงเรื่องประพันธ์ขึ้นใหม่เพื่อให้ร่วมสมัยและต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายด้านเนื้อหารายการของทีวีไทย ส่วนในเรื่องของซีรีย์เกาหลีนั้นได้รับอิทธิพลมาจากความนิยมวัฒนธรรมร่วมเกาหลี จากศิลปิน นักร้อง ภาพยนตร์โทรทัศน์ เพลงป๊อป รวมถึงนักร้องเกาหลี โดยในปีค.ศ.1999 Shiri เป็นภาพยนตร์เกาหลีเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จที่มีอิทธิพลในวงการบันเทิงของเอเชีย ทำให้คลื่นกระแสเกาหลีสามารถเข้ามาในไทยได้ เช่นเรื่องFull House สะดุดรักพักที่ใจ เพลงรักในสายลมหนาวwinter love song แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง กลายเป็นจุดสร้างกระแสเกาหลี จากวิว ทิวทัศน์ พระเอก-นางเอกที่เป็นคนเกาหลีได้ในทวีปเอเชียทำให้ซีรีย์เกาหลีนั้นโด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน ละคร หมายถึง การแสดงประเภทหนึ่งซึ่งแสดงเรื่องราวความเป็นไปของชีวิตที่ปรากฏในวรรณกรรมมีศิลปะการแสดงและดนตรีเป็นสิ่งสำคัญ ละครไทยของทีวีต้องมีลักษณะ 1.ดึงดูดใจ 2.สร้างความประทับใจต่อผู้ชม 3.โดดเด่นมีเอกลักษณ์ 4.ความแปลกใหม่ – เป็นการเพิ่มเติมความสร้างสรรค์ขณะเดียวกันก็ดึงดูดผู้ชมในวงกว้าง สามารถ จุดประกายความคิดต่อผู้ชมทั่วไปและส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมการผลิตละครด้วย นอกจากละครทั่วไปแล้วทีวีไทยยังมีความต้องการละครที่ออกอากาศต่อเนื่องเป็นชุด (Series) ซึ่งมีรายละเอียดในการเปิดรับดังนี้ ก) ละครสำหรับครอบครัว หลักเกณฑ์ในการเสนอ : ละครที่มีความร่วมสมัย เหมาะสำหรับครอบครัวในยุคปัจจุบัน มีเนื้อหาสะท้อนวิถีชีวิตหลากหลาย เสนอแนะการดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์ของคนต่างวัยในครอบครัว ข) ละครสร้างสรรค์สังคม หลักเกณฑ์ในการนำเสนอ - ผู้ผลิตควรพิจารณานโยบายด้านเนื้อหารายการของสถานีอย่างจริงจังเพื่อนำนโยบายมาแปลงเป็นแนวทางในการสร้างละคร เช่น ละครที่มีเนื้อหาสร้างความเป็นธรรมในสังคม ธรรมาภิบาลภาครัฐ สมานฉันท์ เปิดเผยวงจรการทุจริต คอร์รับชั่นในวงราชการ ค ) ละครที่ตอบสนองสุนทรียภาพของชีวิต แม้ทีวีไทยจะมีแนวนโยบายนำเสนอละครสร้างสรรค์สังคมเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมในเชิงบวก แต่ทีวีไทยยังต้องการละครที่ให้ความบันเทิงอย่างสร้างสรรค์ ตอบสนองสุนทรียภาพของผู้ชมให้ชมละครอย่างมีความสุข รูปแบบ : ทีวีไทยต้องการรายการละครทุกรูปแบบ ตอบสนองกลุ่มผู้ชมทุกวัย นำเสนอออกอากาศใน ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้ชมเป้าหมายนั้นๆ ๒.๒ รายการเสียดสีสังคมหรือรายการสุขนาฏกรรม เรื่องตลก อารมณ์ขัน เป็นหนทางระบายความรู้สึกต่อเรื่องราวบางอย่างของสังคม ซึ่งไม่สามารถแสดงออกในรูปแบบอื่นๆได้ ทีวีไทยเห็นประโยชน์ของการมีรายการเสียดสีสังคม จึงกำหนดให้รายการในกลุ่มนี้ควรมีลักษณะ ดังนี้ - เป็นเรื่องราวที่สร้างอารมณ์ขันด้วยมุมมองใหม่ๆ ต่อเรื่องราวและสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ - ให้ความสนุกสนานไปพร้อมกับสร้างบทเรียนชีวิตให้กับผู้ชม

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างละครไทยกับซีรีย์เกาหลี

หลักการและเหตุผล ละคร หมายถึง การแสดงที่ดำเนินเป็นเรื่องราว เกิดจากการนำภาพประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่องราว โดยมีผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเร้าความรู้สึกของผู้ดู และให้แนวคิด คติธรรมและปรัชญาแก่ผู้ดู หลักการ 1) ต้องมีเรื่อง (Story) ผู้ชมการแสดงจะรู้เรื่องได้โดยวิธีการฟังบทเจรจาของตัวละคร ละครจะมีคุณค่าหรือไม่อยู่ที่ผู้ประพันธ์บทจะต้องมีความสามารถในเชิงกวีโวหาร แสดงออกซึ่งลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่องนั้น ๆ 2) ต้องมีเนื้อหาสรุป (Subject) หรือ แนวคิด (Theme) เช่น ต้องการให้เกิดความ รักชาติ ความเสียสละ ความสามัคคี ก่อให้เกิดสติปัญญา สอนคติธรรม ความกตัญญูกตเวที 3) นิสัยตัวละคร (Characterization) บุคลิกลักษณะ กิริยาท่าทาง ต้องตรงกับนิสัย ตัวละครในเรื่อง 4) บรรยากาศ (Atmostphere) หมายถึง การสร้างบรรยากาศรอบ ๆ ที่เกี่ยวกับตัวละคร จะต้องกลมกลืนกับการแสดงของตัวละคร เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกคล้อยตามไปกับเรื่องได้ เช่น บรรยากาศสดชื่น รื่นเริง แจ่มใส โศกเศร้า ดุเดือด ตื่นเต้น หวาดเสียว น่ากลัว วังเวง โครงสร้างของละครนั้น จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้คือ 1.โครงเรื่อง ( Plot) คือ ใคร ( who ) ทำอะไร ( what ) ที่ไหน (where ) เมื่อไหร่ ( when ) อย่างไร ( how ) 2.ตัวละครและวิธีสร้างตัวละคร ( Character and Characterization ) 3.บทเจรจา ( Dialogue) 4.ฉาก ( Setting ) 5. แนวคิดของเรื่อง ( Theme ) 6.การแสดง( Action )